มาถึงตอนที่ 3 แล้วนะครับของบันทึกการสร้างเว็บไซท์สมัครงาน joblnw.com ครั้งนี้เป็นตอนของการเลือกโฮสติ้งครับ ซึ่งขั้นตอนนี้มีรายละเอียดมากพอดู และถือว่าเป็นขั้นตอนที่เลือกแล้วเลือกเลย ถ้าเลือกผิดก็งานเข้าแน่นอนครับ


การเลือกโฮสติ้งสำหรับเว็บไซท์นั้นมีชอยส์ใหญ่ๆให้เลือกได้หลายชอยส์ และมักจะทำให้สับสนกัน ลองดูภาพรวมนี้ก่อนแล้วเราจะเข้าใจอะไรได้ดีขึ้นครับ

hosting types

1.แชร์โฮสติ้ง

แชร์โฮสติ้งหรือเรียกอีกง่ายๆก็คือการที่เรานำเว็บไปฝากไว้กับผู้ให้บริการ ไม่ว่าจะเป็นในไทยหรือเมืองนอก ส่วนใหญ่แล้วแชร์โฮสติ้งนี้จะมีราคาที่ถูก เช่นปีละไม่ถึง 2พันบาทเป็นต้น โฮสติ้งในไทยเกือบจะเกิน 80% ถือว่าเป็นแชร์โฮสติ้งกันทั้งนั้นครับ เปรียบเทียบง่ายๆแชร์โฮสติ้งคือแฟลตที่มีผู้คนอยู่กันอย่างหนาแน่นนั่นเอง

เว็บที่ดังๆของไทย

ข้อดี

  • ราคาถูก

ข้อเสีย

  • อยู่กันอย่างแออัดหน่อย บางทีหนึ่งเครื่องแชร์กันถึง 200 เว็บก็มี
  • ถ้าเว็บเพื่อนบ้านมีคนเข้าเยอะ เครื่องก็จะช้า แล้วก็จะทำให้เราช้าไปด้วย
  • อันนี้แย่กว่า ถ้าเว็บเพื่อนบ้านส่ง SPAM E-MAIL แล้วโดนจับได้ เราก็จะโดนแบนไปด้วย
  • อันนี้แย่สุด ถ้าเว็บเพื่อนบ้านใช้โปรแกรมอะไรแปลกๆทำให้เครื่องค้าง หรือมีช่องโหว่ ติดไวรัส ฯลฯ เราก็จะซวยไปด้วย

เมื่อเทียบกับข้อดีที่เป็นราคาถูกแล้ว จริงๆมันก็เป็นตัวเลือกที่ถือว่าน่าดึงดูดมากนะครับ แต่เทียบกันแล้วจริงๆผมคิดว่าข้อเสียมันมีเยอะไปหน่อย น่าจะลองตัวเลือกอื่นๆดีกว่าครับ

2. VPS Hosting

VPS หรือ Virtual Private Server เป็นขั้นที่อัพขึ้นมาจากแชร์โฮสติ้งอีกระดับนึง ใน server หนึ่งเครื่องส่วนมากแล้วจะมีการแบ่งพื้นที่ออกให้แต่ละผู้ใช้งานอย่างชัดเจน และแต่ละคนก็สามารถเลือกได้ด้วยว่าจะลงระบบปฎิบัติการอะไร ใครอยากลง Windows ก็ลง ใครอยากลง Linux ก็ลง ประมาณนี้ และ VPS นี้ก็ยังดีกว่าแชร์โฮสติ้งด้วยเพราะว่าเครื่องนึง ส่วนมากแล้วจะแชร์กัน 5-10 คนไม่เกิน เรียกว่าเป็นการแชร์คฤหาสกันกับเพื่อน 5-10 คนล่ะกัน

เจ้าดังๆ

ข้อดี

  • เป็นส่วนตัวมากขึ้น
  • แชร์กันไม่หนาแน่นเท่าแชร์โฮสติ้ง
  • เป็นอิสระ สามารถเลือกลงระบบปฎิบัติการอะไรก็ได้

ข้อเสีย

  • ราคาจะแพงกว่าแชร์โฮสติ้งหลายเท่าตัวเลย (เดือนละพันบาทขึ้นไป)

VPS โฮสติ้งก็เป็นอีกชอยส์นึงที่น่าใช้งานเหมือนกันครับ

3. Dedicate Hosting

dedicate hosting จะเป็นอีกเลเวลที่อัพขึ้นมาจาก VPS Hosting อีกขั้นนึง ถือว่าเป็นขั้นสูงสุดล่ะเพราะว่าเราจะเช่า server ใช้คนเดียวไม่แบ่งกับใครเลย มีความเป็นส่วนตัวเต็มที่ แต่ก็มากับราคาที่แพงกว่าเช่นกัน Dedicate hosting นั้นราคาจะเริ่มต้นที่เดือนละ 2000-2500 บาทขึ้นไปเลย เหมาะสำหรับคนที่ทำธุรกิจจริงๆจังๆ ไม่ได้เล่นขายของครับ เปรียบเสมือนคฤหาสที่อยู่คนเดียวไม่ยุ่งกับใครทั้งนั้น

ข้อดี

  • เป็นส่วนตัวที่สุดแล้ว

ข้อเสีย

  • ราคาก็แพงแหล่ะนะ

dedicate hosting นี่ถือว่าเป็นขั้นสุดแล้วของการเป็นเจ้าของ server 1 เครื่อง แต่มันก็ยังมีเหนือกว่านั้นอีกคือการเป็นเจ้าของหลายๆเครื่องครับ

4. Cloud Hosting

Cloud hosting ชื่อนี้กำลังมาแรง แต่มันคืออะไรกันนะมีใครรู้จริงไหม ไม่ต้องตามไปอ่านที่ไหนเพราะว่าผมมีคำตอบให้ครับ Cloud hosting คือการนำเอา server ตัวเป็นๆหลายสิบ หลายร้อยเครื่อง มาต่อเข้าด้วยกันแล้วแชร์พื้นที่กัน ถ้าเกิดว่ามีบางเครื่องเกิดพังขึ้นมา เครื่องอื่นๆก็ยังทำงานไปได้ตามปกติ พังนิดพังหน่อยไม่เป็นไร ไฟล์ไม่เสีย เว็บยังรันได้ปกติอยู่

ข้อดี

  • เสถียรมาก พังไปเครื่องสองเครื่องไม่เป็นไร
  • ข้อมูลจะอยู่คงทนแทบจะ 100% เลยทีเดียว

ข้อเสีย

  • ราคาแพงเมื่อคุณใช้พื้นที่เยอะ
  • ส่วนใหญ่อยู่ต่างประเทศ ในไทยก็มีแต่ยังไม่ค่อยมีที่ไหนใหญ่เท่าของเมืองนอก

Cloud hosting ถือว่าเป็นตัวเลือกที่ดีมากและก็น่าสนใจมากๆครับ

ตำแหน่งงาน System Admin

รู้หมือไร่? ถ้าหากคุณกำลังหางานทางด้านการดูแลระบบอยู่ ไม่ว่าจะเป็น System Admin / Application Admin นี่เป็นโอกาสทองของคุณ เข้าไปค้นหาตำแหน่งงานกับบริษัทที่คุณสนใจ หรือฝากโปรไฟล์ไว้ที่เว็บไซท์ Joblnw ได้เลยครับ

จบไปกันแล้วสำหรับตอนที่ 3 นี้นะครับ ใครจะเลือกใช้โฮสติ้งแบบไหนเพื่อเว็บตัวเองก็เลือกได้ตามความซับซ้อน จำนวนคนเข้า และงบที่มี…. เอาจริงๆอย่าสนใจสองตัวแรกเลยครับ สนใจแต่งบอย่างเดียวดีกว่าเนอะ เพราะถึงต้องการของที่มันดีขนาดไหนแต่ถ้างบไม่ถึงมันก็จบ เอาเป็นว่าขอจบตอนนี้ที่นี่ครับ